วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายงานผลการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต

ตัวอย่างที่ 1 1. ชื่อผลงาน รายงานผลการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต
2. ระยะเวลาที่ดำเนินการ ปี พ.ศ. 2551 - 2553
3. ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ

จากการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้เป็นห้องสมุดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 -2553 ที่ผ่านมาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินเป็นห้องสมุดที่ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจและมีความสุขในการเข้าใช้บริการ พร้อมนี้ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินได้ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น “ห้องสมุด 3 ดี” ที่เน้นการพัฒนาใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หนังสือดี บรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาตลอดชีวิตและนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เนื่องจากห้องสมุดประชาชนเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางปัญญา เป็นแหล่งรวมความรู้ทุกแขนง ทุกศาสตร์ และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน ห้องสมุดจึงเปรียบเสมือนโลกใบใหญ่แห่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งบันเทิงประเทืองปัญญา ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ บรรณารักษ์เป็นมิตร วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทันสมัย น่าสนใจใคร่เรียนรู้ สถานที่ และบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ มีหนังสือ และสื่อการเรียนรู้หลากหลายประเภทอย่างเพียงพอ และตรงกับความต้องการ รู้กว้าง รู้ไกล ทันสมัย ทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เป็นผู้บริหารจัดการความรู้ที่ดี และเป็นผู้ปฎิบัติงานอย่างมีความสุข
4. สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินการ4.1 หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 มาตรา 6 (2) การศึกษาตามอัธยาศัย (ก)การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย (ข) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่วนที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา (ค) การจัดกรอบหรือแนวทางการเรียนรู้ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้เรียน มาตรา 8 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตามอัธยาศัย (1) ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (2)ผู้เรียนได้เรียนรู้สาระที่สอดคล้องกับความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมวันที่ 5 สิงหาคม 2552 กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2552 ถึงปีพุทธศักราช 2561 เป็นทศวรรษการอ่าน และส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชนได้รับความรู้และความชำนาญจากการอ่านซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับชุมชนและสังคมที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศชาติ ห้องสมุดประชาชนเองก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยการให้บริการการศึกษา จึงมีความจำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องปรับและพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐบาล และสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งในการปรับและพัฒนานั้น ห้องสมุดประชาชนและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนดยุทธศาสตร์และพันธกิจร่วมกัน เพื่อสนับสนุนนโยบายในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิต การกำหนดยุทธศาสตร์และพันธกิจดังกล่าวนั้น เป้าหมายหลักคือ การส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในห้องสมุดประชาชน การให้ประชาชนในสังคมได้มีการเรียนรู้มากขึ้น มีความสนใจในการขวนขวายหาความรู้ ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดประชาชนเป็นเหมือนตัวกลางสำหรับนำความรู้สู่ชุมชนด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ อย่างเช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การจัดอบรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตและประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดียิ่งขึ้น ห้องสมุดประชาชน นอกจากจะเป็นคลังความรู้สำหรับชุมชนแล้ว ก็ยังเป็นแหล่งอบรมอาชีพ เป็นที่ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย การพบกลุ่มของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน และการเสริมสร้างความรู้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากตำราอีกด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลและความจำเป็นที่ห้องสมุดจะเป็นตัวกลางหรือเป็นตัวแทนในการสร้างเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความสามารถอีกทั้งพึ่งตนเองได้ การจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมความรู้ ก็เป็นสิ่งที่ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน มีการจัดขึ้นอยู่สม่ำเสมอ เพื่อสร้างเสริมความรู้ให้กับนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน เยาวชน และบุคคลทั่วไป ดังนั้นการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมจึงเป็นเหมือนภารกิจหนึ่งที่ห้องสมุดประชาชนจะต้องปฎิบัติและพัฒนาให้ดีขึ้น
4.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย ทันสมัย ให้กับประชาชนทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีและเห็นประโยชน์จากการใช้ห้องสมุด
2) เพื่อพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีชีวิต โดยจะดำเนินการพัฒนาในด้านการบริการและการจัดกิจกรรม ด้านอาคาร สถานที่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ
3) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา มีนิสัยรักการอ่านและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4) เพื่อประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดให้กับประชาชน องค์กรภาครัฐ เอกชนได้รู้บทบาทหน้าที่บริการต่างๆ ของห้องสมุดประชาชนและมาใช้บริการมากขึ้น
4.3 เป้าหมาย
1) พัฒนาการจัดกิจกรรมห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน ให้เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2) พัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยมีการพัฒนาการดำเนินงานดังนี้
- พัฒนาระบบการให้บริการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- พัฒนาอาคาร สถานที่
- พัฒนาบุคลากร
- พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พัฒนาการบริหารจัดการ
4.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน
การจัดกิจกรรมพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้มีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1)วิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในห้องสมุดประชาชน จำเป็นต้องวิเคราะห์หลายด้าน เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบกิจกรรม ความเป็นไปได้ การปฎิบัติได้จริง ผลประโยชน์ที่จะได้รับ วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น ความเหมาะสมของระยะเวลา การติดต่อวิทยากรหรือผู้มีความชำนาญและอื่นๆ ซึ่งแต่ละอย่างมีความสำคัญและก็จำเป็นจะต้องทำอย่างละเอียด รอบคอบ เพื่อให้การจัดกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
2)นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มากำหนดกิจกรรมให้หลากหลายสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพและความต้องการของผู้รับบริการในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของห้องสมุดประชาชน ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจ เข้าใจ ร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้ความรู้ ตลอดเวลาในการจัดกิจกรรม
3)จัดทำแผนปฎิบัติงานประจำปี การจัดทำโครงการย่อย ๆ เพื่อบรรณารักษ์จะใช้เป็นแนวทางการทำงานอย่างเป็นระบบและมีแบบแผนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ตรงเป้าหมาย และงบประมาณ
4)ดำเนินการตามแผนปฎิบัติงาน ให้สอดคล้องกับแผนประจำปีเพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์กับผู้รับบริการและชุมชนมากที่สุด
5)ประเมินผลการดำเนินงาน จัดเก็บ รวบรวมการดำเนินงานทุกกิจกรรมและจัดทำแฟ้มสะสมงานบรรณารักษ์ประจำปีทุกปี
5.ผู้ร่วมดำเนินการ(ถ้ามี) ไม่มี
6.ส่วนของงานที่ผู้เสนอปฏิบัติ (ระบุรายละเอียดของผลงาน พร้อมทั้งสัดส่วนของผลงาน)
ผู้ขอรับการประเมินมีส่วนร่วมทำผลงานในสัดส่วนของผลงาน 100 เปอร์เซ็นต์ มีรายละเอียดดังนี้
6.1 งานวิเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในห้องสมุดประชาชน ตามนโยบาย ห้องสมุด 3 ดี
6.2 จัดกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพและความต้องการของผู้รับบริการในการพัฒนา กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของห้องสมุดประชาชน ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจ เข้าใจ ร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้ความรู้ ตลอดเวลาในการจัดกิจกรรม
6.3 จัดทำแผนปฎิบัติงานประจำปี การจัดทำโครงการย่อย ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงาน อย่างเป็นระบบและมีแบบแผนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ตรงเป้าหมาย และงบประมาณ
6.4 ดำเนินการตามแผนปฎิบัติงาน ให้สอดคล้องกับแผนประจำปีเพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์กับผู้รับบริการและชุมชนมากที่สุด
6.5 ประเมินผลการดำเนินงาน จัดเก็บ รวบรวมการดำเนินงานทุกกิจกรรมและจัดทำแฟ้มสะสมงาน บรรณารักษ์ประจำปีทุกปี
7.ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ / คุณภาพ)
เชิงปริมาณ
1. ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน ได้รับการพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 1 แห่ง
2.ผู้รับบริการห้องสมุดประชาชน ร้อยละ 60 มีนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้าเพิ่มขึ้น
3.บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี
4.ผู้รับบริการห้องสมุดประชาชน พึงพอใจการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ร้อยละ 70
เชิงคุณภาพ1.ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน ได้รับการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ การให้บริการ และพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่
หลากหลาย ทันสมัย น่าสนใจ เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการเกิดความสนใจที่จะใช้บริการมากขึ้น
2.ผู้ใช้บริการมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนและแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่สังคมแห่งการ เรียนรู้มากขึ้น
3.ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินมีการประสานงานร่วมกับชุมชนเครือข่ายในการจัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้มากขึ้น
4.ผู้รับบริการมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่หลากหลาย และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้มากขึ้น
5.ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินมีบุคลากรที่มีคุณภาพและปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการและชุมชน
8. การนำไปใช้ประโยชน์
8.1 หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดเทศบาล สามารถนำความรู้และ แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ไปประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงานห้องสมุดได้
8.2 ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญและบทบาทหน้าที่การบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดประชาชน ทำให้มีทัศนคติที่ดีและพร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมและใช้บริการมากขึ้น
8.3 ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
9. ความยุ่งยากในการดำเนินการ / ปัญหา / อุปสรรค ปัญหาและอุปสรรคที่พบ9.1กลุ่มเป้าหมาย ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและอยู่ห่างไกล
ชุมชน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร
9.2สถานที่จัดกิจกรรม เป็นสถานที่จำกัด บริเวณคับแคบเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
10. ข้อเสนอแนะ
10.1ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ควรใช้หลักการประชาสัมพันธ์และสื่อ
ที่หลากหลายเพิ่มขึ้น
10.2การจัดบริหารจัดการสถานที่จัดกิจกรรมควรเลือกใช้สถานที่ที่อยู่ในชุมชนและมีบริเวณ
กว้างขวางเหมาะแก่การจัดกิจกรรมนั้น ๆ
ขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ และไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญาหรือประกาศนียบัตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม
(ลงชื่อ).............................
(นางวัฒนีย์ พัฒนีย์กานต์)
ผู้เสนอผลงาน
ได้ตรวจสอบแล้วขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นตรงกับความเป็นจริงทุกประการและไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญาหรือประกาศนียบัตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม
ลงชื่อ.........................................................
(นางกานดา ทองคลองไทร)
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันที่ .........เดือน..........................พ.ศ........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น