ตัวอย่างที่ 2ข้อเสนอแนวความคิด/วิธีการเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ของนางวัฒนีย์ พัฒนีย์กานต์
เพื่อประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งเลขที่ 5884 ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ของนางวัฒนีย์ พัฒนีย์กานต์
เพื่อประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งเลขที่ 5884 ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ผลการดำเนินงานอดีตสู่ปัจจุบัน 55 ปี ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ.2498 – พ.ศ. 2553)หลักการและเหตุผลตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 มาตราที่ 25 ว่าด้วยการส่งเสริมให้ห้องสมุดมุ่งพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนและบริหารจัดการโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเน้นการพัฒนาคนให้มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาห้องสมุดห้องสมุดประชาชนให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตโดยมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน รับผิดชอบโครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ตลอดชีวิต สนองตอบความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย เป็นห้องสมุดประชาชนที่มีชีวิต เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ และข้อมูลข่าวสาร บริการที่หลากหลาย มีความทันสมัย และสามารถ เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างทั่วถึง จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาห้องสมุดประชาชน พ.ศ.2549 - 2551 เพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้ห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศที่สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ดำเนิน โครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิต (Living Library) และตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมวันที่ 5 สิงหาคม 2552 กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2552 ถึงปีพุทธศักราช 2561เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ซึ่งห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินเป็นห้องสมุดที่เปิดให้บริการส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และเป็นแหล่งรวม ข้อมูล ความรู้ ทั้งมีอดีตอันยาวนานโดยมีการเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึง ปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 55 ปี และห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินได้ ดูได้จากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ และการบริหารจัดการ อีกทั้งห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินเป็นห้องสมุดที่รวบรวมความทรงจำ และทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์และส่งเสริมให้เป็นห้องสมุดประชาชนต้นแบบในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนระดับอำเภอบทวิเคราะห์/แนวความคิด/ข้อเสนอโดยการนำหลักการบริหารโครงการโดยใช้ทฤษฎีการบริหารเชิงระบบ (System Approach) ซึ่งประกอบด้วย
1. ด้านปัจจัยป้อน (Input) ได้แก่ บุคลากร และเครือข่าย งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ อาคารสถานที่
2.ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ พัฒนาระบบบริหารจัดการส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน และส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้หลักการนำพันธกิจไปปฏิบัติโดยห้องสมุดประชานอำเภอหัวหินนำหลักการบริหารที่มุ่งผลสำฤทธิ์ของการปฏิบัติงานมาใช้ในการบริหารงานตามนโยบายและแผนของห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน หรือที่เรียกว่าการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management-RBM) กล่าวคือ ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินมีการวางแผนกลยุทธ์และนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มีการกำหนดมาตรฐานงานและตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงาน และมีการกำกับตรวจสอบ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และมีการกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ(Critical Success Factors – CSF) ที่บ่งชี้วิธีการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
3. ด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ มีจำนวนสมาชิกห้องสมุดและผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้บริการ มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ มีการจัดสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และทันสมัย มีจำนวนเครือข่าย ส่งเสริมสนับสนุน และร่วมพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตเพิ่มขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. บุคลากรผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้มีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาห้องสมุดประชาชน ปี 2551 ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนที่ว่าด้วยห้องสมุดประชาชนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้บริการประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรักการอ่านและการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. เครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้เป็นห้องสมุดประชาชนอำเภอต้นแบบที่เปิดให้บริการมาอย่างยาวนานและนำไปใช้ในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนในปีงบประมาณต่อไป
3. ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ได้รับบริการห้องสมุดประชาชนอำเภอ
หัวหินที่มีคุณภาพ และได้รับการส่งเสริมให้รักการอ่านและการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
4. ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ในชุมชนตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขต่อความสำเร็จ(enabling successful factors – CSF) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กับผลผลิตและผลลัพธ์ของนโยบายและแผนของห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินที่มุ่งเน้นให้มีการดำเนินงานห้องสมุดให้มีชีวิตและเป็นห้องสมุดต้นแบบที่คงอยู่มาอย่างยาวนานโดยใช้หลักการกำกับตรวจสอบ 4 ด้านอย่างสมดุล(Balance Scorecard) เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงานของห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน คือ
1.มาตรฐานด้านการเงิน มุ่งที่จะศึกษาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จด้านการประหยัด ความคุ้มค่า ความมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการทุจริตและกำจัดการทุจริตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2.ด้านผู้รับบริการ ประชาชนผู้รับบริการห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินมีความพึงพอใจ มีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น โดยวัดจากความถี่ของการเข้าใช้บริการห้องสมุดภายในหนึ่งสัปดาห์
3.ด้านการจัดการภายใน-ภายนอกห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินโดยดูจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการภายซึ่งดูได้จากความสามารถและการพัฒนาตนเองของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและบุคลากรภายในห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร ความรู้ความสามารถ และความตั้งใจในการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ
4.ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของห้องสมุดประชาชน
อำเภอหัวหินในการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาสังคมและชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการบริการ และการนำแนวคิดทฤษฎีใหม่ ๆ ด้านเศรษฐกิจพอพียง มาใช้ในการบริหารจัดการของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงา การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการปฏิบัติงาน
(ลงชื่อ)........................ผู้เสนอแนวคิด
(นางวัฒนีย์ พัฒนีย์กานต์)
ตำแหน่ง บรรณารักษ์ ชำนาญการ
วันที่......เดือน............................พ.ศ...........
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาห้องสมุดห้องสมุดประชาชนให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตโดยมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน รับผิดชอบโครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ตลอดชีวิต สนองตอบความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย เป็นห้องสมุดประชาชนที่มีชีวิต เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ และข้อมูลข่าวสาร บริการที่หลากหลาย มีความทันสมัย และสามารถ เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างทั่วถึง จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาห้องสมุดประชาชน พ.ศ.2549 - 2551 เพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้ห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศที่สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ดำเนิน โครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิต (Living Library) และตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมวันที่ 5 สิงหาคม 2552 กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2552 ถึงปีพุทธศักราช 2561เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ซึ่งห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินเป็นห้องสมุดที่เปิดให้บริการส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และเป็นแหล่งรวม ข้อมูล ความรู้ ทั้งมีอดีตอันยาวนานโดยมีการเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึง ปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 55 ปี และห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินได้ ดูได้จากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพ และการบริหารจัดการ อีกทั้งห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินเป็นห้องสมุดที่รวบรวมความทรงจำ และทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์และส่งเสริมให้เป็นห้องสมุดประชาชนต้นแบบในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนระดับอำเภอบทวิเคราะห์/แนวความคิด/ข้อเสนอโดยการนำหลักการบริหารโครงการโดยใช้ทฤษฎีการบริหารเชิงระบบ (System Approach) ซึ่งประกอบด้วย
1. ด้านปัจจัยป้อน (Input) ได้แก่ บุคลากร และเครือข่าย งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ อาคารสถานที่
2.ด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ พัฒนาระบบบริหารจัดการส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน และส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้หลักการนำพันธกิจไปปฏิบัติโดยห้องสมุดประชานอำเภอหัวหินนำหลักการบริหารที่มุ่งผลสำฤทธิ์ของการปฏิบัติงานมาใช้ในการบริหารงานตามนโยบายและแผนของห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน หรือที่เรียกว่าการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management-RBM) กล่าวคือ ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินมีการวางแผนกลยุทธ์และนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มีการกำหนดมาตรฐานงานและตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงาน และมีการกำกับตรวจสอบ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และมีการกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ(Critical Success Factors – CSF) ที่บ่งชี้วิธีการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
3. ด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ มีจำนวนสมาชิกห้องสมุดและผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้บริการ มีการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ มีการจัดสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และทันสมัย มีจำนวนเครือข่าย ส่งเสริมสนับสนุน และร่วมพัฒนาห้องสมุดประชาชนมีชีวิตเพิ่มขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. บุคลากรผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินการพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้มีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาห้องสมุดประชาชน ปี 2551 ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนที่ว่าด้วยห้องสมุดประชาชนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้บริการประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรักการอ่านและการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. เครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินให้เป็นห้องสมุดประชาชนอำเภอต้นแบบที่เปิดให้บริการมาอย่างยาวนานและนำไปใช้ในการพัฒนาห้องสมุดประชาชนในปีงบประมาณต่อไป
3. ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ได้รับบริการห้องสมุดประชาชนอำเภอ
หัวหินที่มีคุณภาพ และได้รับการส่งเสริมให้รักการอ่านและการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
4. ห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ในชุมชนตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขต่อความสำเร็จ(enabling successful factors – CSF) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กับผลผลิตและผลลัพธ์ของนโยบายและแผนของห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินที่มุ่งเน้นให้มีการดำเนินงานห้องสมุดให้มีชีวิตและเป็นห้องสมุดต้นแบบที่คงอยู่มาอย่างยาวนานโดยใช้หลักการกำกับตรวจสอบ 4 ด้านอย่างสมดุล(Balance Scorecard) เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงานของห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน คือ
1.มาตรฐานด้านการเงิน มุ่งที่จะศึกษาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จด้านการประหยัด ความคุ้มค่า ความมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการทุจริตและกำจัดการทุจริตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
2.ด้านผู้รับบริการ ประชาชนผู้รับบริการห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินมีความพึงพอใจ มีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น โดยวัดจากความถี่ของการเข้าใช้บริการห้องสมุดภายในหนึ่งสัปดาห์
3.ด้านการจัดการภายใน-ภายนอกห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหินโดยดูจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการภายซึ่งดูได้จากความสามารถและการพัฒนาตนเองของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและบุคลากรภายในห้องสมุดประชาชนอำเภอหัวหิน ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร ความรู้ความสามารถ และความตั้งใจในการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการ
4.ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของห้องสมุดประชาชน
อำเภอหัวหินในการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาสังคมและชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการบริการ และการนำแนวคิดทฤษฎีใหม่ ๆ ด้านเศรษฐกิจพอพียง มาใช้ในการบริหารจัดการของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงา การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการปฏิบัติงาน
(ลงชื่อ)........................ผู้เสนอแนวคิด
(นางวัฒนีย์ พัฒนีย์กานต์)
ตำแหน่ง บรรณารักษ์ ชำนาญการ
วันที่......เดือน............................พ.ศ...........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น